บทความ

ปัญหาคอคอดกระกับภูมิศาสตร์การเมือง

รูปภาพ
บทนำ นับตั้งแต่ในยุคโบราณมานั้น ความเจริญรุ่งเรืองที่เคยเกิดขึ้นในภาคพื้นทวีปจึงได้เคลื่อนตัวลงไปสู่ดินแดนที่เป็นชายขอบของทวีป อันประกอบไปด้วยเมืองท่าที่สำคัญอันเป็นเส้นทางการค้าและการลงทุนในยุคปัจจุบัน ตลอดจนเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันจึงมีนโยบายที่จะมองออกไปในทะเล ให้ความสำคัญต่ออาณาเขตทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการค้า การพาณิชย์นาวีแสนยานุภาพทางกองทัพ ฯลฯ ตลอดจนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องอันเกิดจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของรัฐ อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติของตนสืบไปในอนาคต คาบสมุทรมลายูฝั่งของไทยจะขวางกั้นสองมหาสมุทรสำคัญของโลกคือทางตะวันออกของคาบสมุทรเป็นอ่าวไทยซึ่งเชื่อมกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนทางตะวันตกเป็นทะเลอันดามันซึ่งเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียทำให้เรือซึ่งใช้เส้นทางคมนาคมทางทะเลระหว่างสองมหาสมุทรนี้จะต้อง แล่นอ้อมไปทางตอนใต้สุดของแหลมมลายู โดยผ่านทางช่องแคบมะละกาและช่องแคบ สิงคโปร์ที่มีประเทศที่อ้างสิทธิความเป็นเจ้าของช่องแคบดังกล่าว คือมาเลเซีย อินโดนีเซีย

ภูมิศาสตร์การเมืองกับสงครามอ่าวเปอร์เซีย

สงครามอ่าวเปอร์เซีย           ความเป็นมา           ในยุคของการล่าอาณานิคม ดินแดนของชาติอาหรับได้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เขตแดนที่แยกออกเป็นประเทศต่างๆ ในปัจจุบันในโลกอาหรับส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยอังกฤษและฝรั่งเศส การขีดเส้นแบ่งมิได้กำหนดตามประวัติศาสตร์ของและชาติ แต่ถูกขีดเส้นแบ่งไปตามคำบอกเล่า ผลสะท้อนที่เกิดตามมาภายหลัง จึงทำให้ดินแดนในโลกอาหรับประสบปัญหามากมาย ซึ่งปัญหาวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียก็มีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการแบ่งเขตแดนตั้งแต่ครั้งนั้น           ภาวะที่นำไปสู่วิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย 1.         ปัญหาเรื่องสิทธิ์ในดินแดน   อิรักยืนยันสิทธิ์ของตนเหนือดินแดนคูเวต โดยอ้างถึงประวัติศาสตร์ว่า คูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นต่อเมืองบาสรา ซึ่งเป็นเมืองของอิรัก คูเวตจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของอิรัก โดยอิรักเคยประกาศอ้างถึง 3 ครั้งว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก ซึ่งครั้งที่ 3 ในสมัยของนายซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก ซึ่งเป็นการประกาศก่อนที่กองกำลังอิรักจะบุกเข้ายึดคูเวต 2.        ปัญหาเรื่องการกำหนดโควตาและราคาน้ำมัน   เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986