ภูมิศาสตร์การเมืองกับสงครามอ่าวเปอร์เซีย

สงครามอ่าวเปอร์เซีย
          ความเป็นมา
          ในยุคของการล่าอาณานิคม ดินแดนของชาติอาหรับได้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เขตแดนที่แยกออกเป็นประเทศต่างๆ ในปัจจุบันในโลกอาหรับส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยอังกฤษและฝรั่งเศส การขีดเส้นแบ่งมิได้กำหนดตามประวัติศาสตร์ของและชาติ แต่ถูกขีดเส้นแบ่งไปตามคำบอกเล่า ผลสะท้อนที่เกิดตามมาภายหลัง จึงทำให้ดินแดนในโลกอาหรับประสบปัญหามากมาย ซึ่งปัญหาวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียก็มีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการแบ่งเขตแดนตั้งแต่ครั้งนั้น

          ภาวะที่นำไปสู่วิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย
1.       ปัญหาเรื่องสิทธิ์ในดินแดน  อิรักยืนยันสิทธิ์ของตนเหนือดินแดนคูเวต โดยอ้างถึงประวัติศาสตร์ว่า คูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นต่อเมืองบาสรา ซึ่งเป็นเมืองของอิรัก คูเวตจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของอิรัก โดยอิรักเคยประกาศอ้างถึง 3 ครั้งว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก ซึ่งครั้งที่ 3 ในสมัยของนายซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก ซึ่งเป็นการประกาศก่อนที่กองกำลังอิรักจะบุกเข้ายึดคูเวต
2.       ปัญหาเรื่องการกำหนดโควตาและราคาน้ำมัน   เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 จนมาถึงปี ค.ศ. 1990 จากวิกฤตการณ์นี้ กลายมาเป็นความขัดแย้งระหว่างอิรักกับคูเวต กล่าวคือ อิรักกล่าวหาคูเวตว่า ทำการผลิตน้ำมันเกินโควตาและส่งออกน้ำมันมากเกินที่โอเปกกำหนด ซึ่งเป็นการทำร้ายอิรักในด้านเศรษฐกิจ และอิรักมองว่า การที่คูเวตทำการผลิตน้ำมันมากก็เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของอเมริกาในการกักเก็บน้ำมัน รายได้จากการส่งออกน้ำมันมีสัดส่วนคิดเป็น “เกือบครึ่งหนึ่งของจีดีพี” ของคูเวต และถือเป็น 95เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศ เนื่องจาก
แรงกดดันจากหนี้สงครามอิรัก-อิหร่านอิรักจึงต้องการคุมแหล่งน้ามันของโลกคือคูเวต เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการผลิตน้ำมันและการกำหนดราคาน้ามัน
3.  ปัญหาเรื่องเขตแดน  มีปัญหากันมาเป็นเวลานาน อิรักเสนอให้มีการเจรจาปักปันเส้นแบ่งเขตแดนให้ชัดเจนและแน่นอน เช่น ทุ่งน้ำมันรูไมลา ตั้งอยู่ในเขตแดนของอิรักหรือของคูเวต แต่คูเวตบ่ายเบี่ยงไม่ต้องการให้มีการชี้ชัด เพราะเกรงว่าตนจะสูญเสียผลประโยชน์เพราะหากชี้ชัดลงไปว่า  ทุ่งน้ำมันรูไมลาอยู่ในเขตแดนของอิรัก ตนก็จะไม่มีสิทธิ์เข้าไปสูบน้ำมันในบ่อนี้อีกต่อไป
อิรักและคูเวตมีกรณีพิพาทดินแดน Rumailah Oilfield แหล่งน้ามันที่สำคัญมาเป็นเวลานานและหาข้อยุติไม่ได้ อิรักจึงถือโอกาสยึดครองคูเวตด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์
อิรักไม่มีทางออกทะเลหรือทางอ่าวเปอร์เซีย เพราะมีเกาะบูมิยันและเกาะวาห์บาห์ของคูเวตขวางทางอยู่อิรักจึงมิอาจขายน้ามันโดยตรงแก่เรือผู้ซื้อได้ทั้งอิรักยังตกลงกับอิหร่านเรื่องการใช้เมืองท่าบัสราผ่านร่องน้าซัตต์-อัล-อาหรับไม่ได้
4.  อิรักจ้องการเส้นทางออกสู่ทะเล  การแสวงหาเส้นทางออกสู่ทะเลนั้นเป็นนโยบายของอิรักมานานนับตั้งแต่อิรักทำสงครามกับอิหร่าน ในสมัยที่คูเวตได้เอกราชในปี ค.ศ. 1961 รัฐบาลของนายพล กอซิม แห่งอิรัก ก็เคยเรียกร้องเอาดินแดนคูเวตมาเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก แต่คูเวตก็ไปพึ่งอังกฤษให้สนับสนุนคัดค้าน การเรียกร้องครั้งนั้นก็ไร้ผล
5.   อิรักต้องการคุมพลังงานน้ำมัน   อิรักเห็นว่า แม้โอเปกจะมีมติให้ผลิตน้ำมันตามโควตาและส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลกตามโควตาก็ตาม แต่บางประเทศก็มิได้ปฏิบัติตามมติอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะคูเวต มักจะผลิตและส่งออกน้ำมันเกินโควตาเสนอ หากอิรักสามารถเข้ายึดครองคูเวตสำเร็จ ก็จะสามารถควบคุมเรื่องการผลิตและกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ และอาจใช้น้ำมันเป็นเครื่องมือต่อรองในด้านการเมืองด้วย


อิรักเข้ายึดครองคูเวต
ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กองกำลังของอิรัก ประกอบด้วยทหาร 1 แสนคน และรถถังจำนวน 300 คันยกพลเข้าประชิดชายแดนคูเวต และบุกเข้าโจมตีแบบสายฟ้าแลบเข้าควบคุมกำลังของคูเวตไว้ได้ การส่งกองกำลังททหารเข้ายึดครองคูเวตของอิรักครั้งนี้ ไม่มีประเทศใดคาดคิดมาก่อน เพราะอิรักกับคูเวตก็เป็นมิตรประเทศกันมาตลอด สมัยที่อิรักทำสงครามกับอิหร่าน คูเวตก็ให้การสนับสนุนอิรักและให้ความช่วยเหลืออิรักเสมอมา

ภาวะสงครามอ่าวเปอร์เซีย
องค์การสหประชาชาติได้เข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์ที่อิรักใช้กำลังเข้ายึดครองคูเวต โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1990 มติของที่ประชุมเรียกร้องให้อิรักถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากคูเวตโดยเร็ว แต่อิรักปฏิเสธข้อเรียกร้องครั้งนี้ ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงได้ประชุมและลงมติยอมให้สมาชิกของสหประชาชาติใช้มาตรการทุกอย่าง เพื่อผลักดันให้อิรักถอนกำลังทหารทั้งหมดของตนออกจากคูเวต ภายในวันที 15 มกราคม ค.ศ. 1991
สงครามอ่าวเปอร์เซีย เริ่มขึ้นหลังจากวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นเส้นตายที่คณะมนตรีความมั่นคงกำหนดไว้ กองกำลังทหารพันธมิตรมีอเมริกาเป็นผู้นำ ประกอบด้วย อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ ซีเรีย ปากีสถาน และประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้ยกกำลังเข้าโจมตีกองกำลังของอิรักในคูเวต ทั้งทางภาคพื้นดิน ทางอากาศ และยิงขีปนาวุธจากเรือในอ่าวเปอร์เซีย ส่วนประเทศที่ไม่ได้ส่งส่งทหารเข้าร่วมรบครั้งนี้ เช่น ญี่ปุ่น ก็สนับสนุนทางด้านการเงิน ในที่สุด สงครามอ่าวเปอร์เซียก็ยุติลง ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 โดยอิรักเป็นฝ่ายปราชัย
อิรักฉลาด เขาบอกว่าเขาอาจะสู้ไม่ได้ เขาต้องไปกระตุ้นให้อิสราเอล ซึ่งเป็นคู่ปรับตลอดการของอาหรับเข้าสู่สงคราม จะทำให้ประเทศอาหรับเพื่อนบ้านเข้าสู่สงครามกันหมด และแน่นอนว่าจะต้องอยู่ตรงข้ามกับอิสราเอล และนั่นก็คือ ต้องอยู่ฝ่ายเดียวกับอิรัก จัดการทั้งอิสราเอล สหรัฐอเมริกา และพันธมิตร แต่อิสราเอลรู้ทัน เลยไม่เข้าสู่สงคราม

การแก้ไขวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย
สงครามอ่าวเปอร์เซียดำเนินมาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ก็ยุติลง ผลของสงครามกระทบต่อประเทศคู่สงครามและชาติอาหรับไม่น้อย โดยเฉพาะทหารและประชากรชาวอิรัก แต่รัฐบาลอิรักไม่ยอมเปิดเผยตัวเลขการสูญเสียชีวิตว่าจำนวนเท่าใด ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีอเมริกาเป็นผู้นำ ระบุว่า ทหารฝ่ายพันธมิตรนั้นเสียชีวิตเพียง 147 คน

คณะมนตรีความมั่นคงกับการแก้ไขวิกฤตการณ์
2 สิงหาคม 1990                   ประณามอิรักในการส่งกองกำลังเข้ายึดคูเวตและเรียกร้องให้อิรัก
                                       ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากคูเวตทันที

6 สิงหาคม 1990                   ประกาศคว่ำบาตรอย่างเข้มงวดต่อสินค้าทุกชนิดที่ส่งเข้า และ
ส่งออกจากอิรัก ยกเว้นยา เครื่องบริโภค และภาวะทางมนุษยธรรม

25 สิงหาคม 1990                  อนุญาตให้สมาชิกของสหประชาชาติใช้กำลังในอ่าวเปอร์เซีย
ปฏิบัติให้เป็นไปตามมติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

16 กันยายน 1990                 ประณามการบุกค้นโดยกองงกำลังทหารอิรักต่อผู้แทนทางการทูต
ของฝรั่งเศสและอื่นๆ ที่อยู่ในคูเวตที่อิรักยึดครองอยู่

          29 ตุลาคม 1990                     เรียกร้องให้หยุดการจับตัวประกัน และเรียกร้องให้อิรักส่งอาหาร
น้ำ และการปกป้องประเทศที่ 3 ในอิรักและคูเวต ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ทางการทูต


          นายอับดุลเลาะห์ อัล-อันบารี ตัวแทนถาวรของอิรัก ประจำสหประชาชาติ กล่าวถึงสาเหตุที่เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย ณ สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ว่า
                   “รัฐบาลของข้าพเจ้าเชื่อว่า วิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย เป็นข้ออ้างเพื่อที่จะทำสงครามใหญ่ 
      ต่อต้านอิรัก อันเป็นหัวใจของชาติอาหรับ เป็นความหวังใหม่ของคนรุ่นใหม่ และเป็นหัวใจที่ตั้งมั่นในการ
      ต่อต้านจักรวรรดินิยมไซออนนิสต์และความทะเยอทะยานที่มีต่อทรัพย์สมบัติของอาหรับ...”
         
          อิรักเมื่อพ่ายแพ้สงคราม ก็ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม เพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซียรัฐบาลแบกแดดได้ขอเวลา 5 ปี เพื่อเลื่อนเวลาการใช้หนี้ออกไป เพราะไม่สามารถรับภาระหนี้ใหม่นี้ได้ รัฐบาลอิรักเรียกร้องให้สหประชาชาติยอมให้อิรักขายน้ำมัน คิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อซื้ออาหารและเวชภัณฑ์

ผลของสงคราม
          ก่อนกองกำลังทหารของอิรักจะออกจากดินแดนคูเวต พวกเขาได้ทำความเสียหายแก่คูเวตไม่น้อยด้วยการจุดไฟเผาบ่อน้ำมันจำนวนมากถึง 730 บ่อ เปลวเพลิงที่พุ่งขึ้นจากการเผาไหม้เป็นสาเหตุให้เกิดมลภาวะในอากาศ เกิดฝนดำ ทำลายพื้นที่การเพาะปลูก รวมถึงน้ำมันที่ไหลลงสู่อ่าวฯ ก็สร้างความเสียหายแก่สัตว์น้ำและนกตามชายฝั่งไม่น้อย และยังส่งผลกระทบไปยังอิหร่านด้วย
          หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซียยุติ คูเวตขอร้องให้สหรัฐอเมริกาคงกองกำลังทหารไว้ในอิรักต่อไป และสหรัฐฯกับคูเวต ได้ลงนามในสัญญาทางการทหารร่วมกัน โดยกำหนดให้กองกำลังของสหรัฐฯอยู่ในคูเวตต่อไปอีก 10 ปี สหรัฐฯได้ประโยชน์จากการช่วยเหลือคูเวตไม่น้อยเช่นกัน

วิเคราะห์ตามภูมิศาสตร์การเมือง
1.       พรมแดน
เนื่องจากในอดีตทั้งดินแดนอิรักและคูเวตตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เมื่อเป็นอิสระทั้งสองประเทศจึงมีปัญหาเรื่องพรมแดนที่ไม่ได้รับการแบ่งที่ชัดเจนมาตั้งแต่ต้น บวกกับดินแดนที่ทับซ้อนมีทรัพยากรน้ำมันอยู่ ทำให้ต่างฝ่ายก็ต้องการที่จะเป็นเจ้าของ และกลัวที่จะเสียพื้นที่นั้นไปจึงไม่มีการเจรจาเรื่องแบ่งเขตแดนให้ชี้ชัดไปเลยว่าเป็นของประเทศไหน

2.       ที่ตั้ง/ขนาดประเทศ
ประเทศอิรักมีพื้นที่ส่วนเล็กน้อยที่ติดกับทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ทางเกษตรกรรม ไม่ใช่พื้นที่เมือง ไม่มีท่าเรือ ไม่มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับทะเลมากนัก พูดง่ายๆจะเปรียบเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเลยก็ว่าได้ ซึ่งดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าอิรักต้องการเส้นทางที่จะออกสู่ทะเล เพื่อประโยชน์ทางการค้า เศรษฐกิจ และการเมือง จึงต้องการที่จะเข้ายึดครองคูเวตเพื่อให้ได้พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลนั่นเอง ซึ่งประเทศคูเวตเป็นประเทศเล็กๆเมื่อเทียบกับอิรัก จึงมีความคิดว่าน่าจะยึดครองได้ไม่ยาก แต่ด้วยที่มีสหประชาชาติเข้ามาช่วยเหลือคูเวต ทำให้อิรักยึดครองคูเวตไม่สำเร็จ
ที่ตั้ง : เป็นศูนย์กลางของสงครามในตะวันออกกลาง อิรักนั้นถูกล้อมด้วยประเทศที่เคยทำสงครามด้วยทั้งหมด เช่น ซีเรีย อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย คูเวต จอร์แดน การที่อิรักจะไม่มีสงครามนั้น จำเป็นต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน เพื่อลดความขัดแย้งทั้ง ศาสนา เศรษฐกิจและการเมือง
3.       ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นน้ำ : ทะเลภายใน
อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อถ้าอิรักได้ยึดคูเวตสำเร็จ ทำให้อิรักมีน่านน้ำทะเลภายใต้ที่ยาวและกว้างขึ้น ส่งผลต่อแหล่งน้ำมันในการขุดขึ้นมา และด้วยอิรักต้องการออกสู่ทะเลจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ชายฝั่งทะเลให้กว้างขึ้นเพื่อที่จะได้ออกสู่ทะเลและไปยังมหาสมุทรได้อย่างสะดวก
4.       ทรัพยากรธรรมชาติ
ประเทศคูเวตถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีน้ำมันมาก ไม่เพียงแต่ประเทศมหาอำนาจเท่านั้นที่ต้องการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ แม้แต่อิรักเองซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด ก็พยายามจะเข้าไปยึดครองคูเวต ซึ่งผลประโยชน์ในหลายด้านก็จะเกิดแก่อิรัก ตั้งแต่การควบคุมการผลิตและการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก และการใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง
ดังที่เราเห็นว่าประเทศพันธมิตรที่มีสหรัฐฯอเมริกาเป็นตัวนำ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คูเวตในการขับไล่ทหารอิรัก ลึกๆแล้วประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯอเมริกาคงหวังผลประโยชน์กับคูเวตไม่น้อยเรื่องน้ำมัน



บรรณานุกรม

จรัญ มะลูลิน. ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียหลังสงคราม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 47 - 49
รองศาสตราจารย์ ดร.ทองหล่อ วงษ์ธรรมา (2557). เหตุการณ์โลกปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
http://www.manager.co.th/Around/Viewnews.aspx?NewsID=9580000107821
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000036754

http://www.tnews.co.th/contents/325869

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภูมิศาสตร์การเมืองของประเทศนอร์เวย์

ปัญหาคอคอดกระกับภูมิศาสตร์การเมือง